วันอังคารที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2553

แนะนำบริษัททัวร์จีน




ทัวร์จีน โดย บริษัททัวร์จีน China Holiday



ทัวร์จีน ทัวร์ปักกิ่ง ท่องเที่ยวจีน ปักกิ่ง นั่งกระเช้าชมกำแพงเมืองจีน สวนสัตว์ปักกิ่ง

โปรแกรมทัวร์พิเศษ นั่งกระเช้าชมกำแพงเมืองจีนในมุมสูง ล่องเรือชมความงามในพระราชวังฤดูร้อน ชมหมีแพนด้ายักษ์ ณ สวนสัตว์ปักกิ่ง นั่งสามล้อชมเมืองโบราณ ที่ยังคงอนุรักษ์ไว้ อาหารพิเศษ เป็ดปักกิ่ง เสริฟพร้อมไวน์แดง สุกี้มองโกเลีย (เนื้อแพะ) เกี๊ยวปักกิ่ง ทุกมื้อกลางวัน และเย็น มีเบียร์ และน้ำอัดลมบริการ พักโรงแรมมาตรฐาน ในเครือ HOLIDAY INN EXPRESS HOTEL

วันท่องเที่ยว ปี ค.ศ. 2010, พ.ศ. 2553 เดือน: ส.ค. 4, 11, 18, 25 ราคา 19900
ก.ย. 1, 8, 8, 15, 22, 29 ราคา 19900
รายละเอียด ทัวร์จีนกับบริษัททัวร์จีน China Holiday



------------------------------------------------------------------------------------





บริษัท แพนด้า เอ๋อเหมยซาน จำกัด ให้บริการ การท่องเที่ยว ทัวร์ ต่างประเทศ อาทิเช่น เที่ยวทิเบต, เส้นทางสายไหม, จิ่วไจ้โกว, จางเจียเจี้ย, ง้อไบ๊, หวงซาน, แซงกรีล่า, ฮ่องกง, เกาหลี, ทัวร์เมืองจีน และสถานที่ท่องเที่ยวอื่นๆ อีกมากมายทั่วโลก


รับคำแนะนำและบริการเกี่ยวกับการท่องเที่ยว Hotline : 086-317-1624



รายละเอียด สำหรับการเดินทางท่องเที่ยวกับแพนด้า



--------------------------------------------------------------------------------





ThaitravelCenter.com
      นำเสนอ ทัวร์จีน บริการคุณภาพ ให้ท่านได้สัมผัสประเทศจีน ที่มีความยิ่งใหญ่ทั้งทางด้านพื้นที่และวัฒนธรรม กับบริการทัวร์จีนหลากหลายรูปแบบ ในเส้นทางยอดฮิต อาทิ ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ กุ้ยหลิน เฉินตู คุนหมิง ซีอาน หรือ เส้นทางใหม่ ๆ ตามฤดูกาล กำหนดการเดินทางได้ตลอดปี รวมถึงช่วงเทศกาลและวันหยุดสำคัญ เช่น สงกรานต์ ปีใหม่ ตรุษจีน เรายังทำหน้าที่ บริษัททัวร์ชั้นนำ ในการจัดสรร แพคเกจทัวร์จีน เพื่อความต้องการเฉพาะตั้งแต่ 2 ท่าน หรือการเดินทางแบบหมู่คณะ กรุ๊ปทัวร์ กรุ๊ปเหมา ท่องเที่ยว ดูงาน สัมนา หรือ ประชุม ณ เมืองจีน ในราคาและบริการคุณภาพ






 
--------------------------------------------------------------------------------
 
 
 
 
Welcome to eTravelWay.com - Thailand Online Reservation Service Center


We provide Thailand online reservation services for hotels, flights, cars, cruises, activities - traditional massage, health spa, golf courses, and more. You will also find helpful travel information that will assist in making up your mind as where to stay or visit while you are in Thailand. Come book with us and share the delights of this amazing Thailand

เที่ยวจีนกับ     eTravelWay.com


------------------------------------------------------------------------------------------- 
 
 
 

ไม่ว่าท่านจะอยู่ไหนก็ไปเที่ยวกับเราได้ สนใจไปทัวร์กับเราสามารถติดต่อสอบถาม



รายละเอียดกับเอเย่นซ์ใกล้บ้านท่าน ด้วยความสะดวก
 
 

 
ติดต่อเราได้ที่นี่
 
 
------------------------------------------------------------------------------------------------
 
และอื่นๆ  สนใจไปทัวร์กับเรา สามารถติดต่อเอเย่นต์คุณภาพใกล้บ้านท่านได้ตามสะดวก
 
บริษัททัวร์: Diamondshine



เบอร์โทรบริษัท: 02-792-9288



บริษัททัวร์: Thaiticketexpert


เบอร์โทรบริษัท: 02-2295830-35



บริษัททัวร์: Outlooktravel


เบอร์โทรบริษัท: 0-2792-9277



บริษัททัวร์: eTravelWay.com (VR)


เบอร์โทรบริษัท: 02-748-6245



บริษัททัวร์: พีบี ทราเวล เอเจนซี่ เซนเตอร์


เบอร์โทรบริษัท: 053742844



บริษัททัวร์: siamorchidtravel.com


เบอร์โทรบริษัท: 025177001



ขอให้เดินทางโดยสวัสดิ์ภาพนะคะ สนุกกับการเที่ยวชมเมืองแห่งวัฒนธรรมเก่าแก่นับพันปี ที่อดุมไปด้วยแหล่งท่องเที่ยวทั้ง ทางธรรมชาติ วัฒนธรรมประเพณี และสีสันที่หลากหลายค่ะ!!

วันจันทร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2553

รู้จักจีนก่อนไปจีน

ประเทศ สาธารณรัฐประชาชนจีน

ภูมิศาสตร์กายภาพ

ตั้งอยู่ในเอเซียตะวันออก บนฝั่งตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก มีพื้นที่ดินประมาณ ๙.๖ ล้านตารางกิโลเมตร ใหญ่เป็นอันดับที่ ๓ ของโลก รองจากรัสเซียกับแคนาดา

      จากเหนือถึงใต้วัดได้ ๕,๕๐๐ กม. จากศูนย์กลางของแม่น้ำ Heilaongjiang ทางเหนือของเมือง Mohe ถึงแนวหินโสโครก Zengmu ที่ใต้สุดของเกาะ Nansha ในขณะที่ทางเหลือของจีนยังมีหิมะปกคลุมอยู่ ประชาชนทางใต้กำลังขมักเขม่นกับการเพาะปลูกในฤดูใบไม้ผลิ

       จากตะวันตกถึงตะวันออก วัดได้ ๕,๒๐๐ กม. จาก Pamir ถึงจุดบรรจงของแม่น้ำ Heilongjiang กับแม่น้ำ Wusuli วัดความแตกต่างของเวลาได้ ๔ ชั่วโมง กล่าวคือเมื่อ Pamir ยังมืดสนิทอยู่ ทางฝั่งตะวันออกของประเทศกำลังได้รับแสงอาทิตย์ยามเช้าที่สดใส

       ประเทศจีนมีอาณาเขตติดต่อกับประเทศต่างๆ ถึง ๑๕ ประเทศ ด้วยความยาว ๒๒,๘๐๐ กม. ข้ามทะเลไปทางตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้มี เกาหลี ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ บรูไน มาเลย์เซีย และอินโดนีเซีย

        แผ่นดินใหญ่จีนถูกขนาบทางตะวันออกไปทางใต้ด้วยทะเล Bohai ทะเล Huanghai ( ทะเลเหลือง ) ทะเลจีนตะวันออก และทะเลจีนใต้ โดยมีพื้นที่น้ำรวม ๔.๗๓ ล้านตาราง กิโลเมตร ทะเล Bohai เป็นทะเลภายในพื้นทวีปของจีนเองในขณะที่ทะเลเหลือง ทะเลจีนตะวันออก และทะเลจีนใต้ เป็นส่วนประกอบของมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งมีเกาะเล็กเกาะน้อยถึง ๕,๔๐๐ เกาะ จึงทำให้ประเทศจีนมีอาณาเขตทางทะเลที่ใหญ่มาก เกาะที่ใหญ่ที่สุดมีเนื้อที่ ๓๖,๐๐๐ ตาราง กิโลเมตร คือ ไต้หวัน ตามด้วยเกาะไหหลำ ๓๔,๐๐๐ ตาราง กิโลเมตร เกาะ Diaoyu กับเกาะ Chiwei ซึ่งอยู่ทางตะวันออกของเกาะไต้หวันเป็นเกาะตะวันออกสุดของจีนเกาะน้อยใหญ่ รวมถึงหินโสโครก และ ฝูงปลา ในทะเลจีนใต้ เป็นที่รู้จักกันว่า เป็นหมู่เกาะทะเลจีนใต้ ซึ่งแบ่งออกเป็น Dongsha , Xisha, Zhongsha , และ Nansha รวม ๔ กลุ่ม


ภูมิอากาศ

ประเทศจีนมีลักษณะภูมิอากาศเป็นแบบมรสุมภาคพื้นทวีปที่มีหลากหลายรูปแบบ ลมเหนือจะมีอิทธิพลสูงในฤดูหนาว ในขณะที่ลมใต้จะมีบทบาทในฤดูร้อน มีผลถึง ๔ ฤดู ที่แตกต่างกันอย่างเด่นชัด มีฤดูฝนปนอยู่กับฤดูร้อน



จากเดือน กันยายน ข้ามปีไปไปถึง เมษายน มีลมหนาวที่แล้งจาก Siberia และ Mongolia ความแรงของลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือนี้จะมีกำลังลดลงเมื่อลงมาถึงดินแดนในภาคใต้ เป็นฤดูที่หนาวแบบแห้งที่มีความแตกต่างของอุณหภูมิสูงมาก



มรสุมฤดูร้อนจะเกิดขึ้นระหว่าง เมษายน ถึง กันยายน ด้วยลมอุ่นและความชื้นจากมหาสมุทรที่นำน้ำฝนจำนวนมหาศาลมาให้ พร้อมกับอุณหภูมิที่ค่อนข้างสูงและมีความแตกต่างกันค่อนข้างต่ำ ระหว่างภาคเหนือกับภาคใต้



ภูมิอากาศที่ซับซ้อน และหลากหลายของจีน มีผลให้สามารถแบ่งแถบอิงอุณหภูมิ กับแถบอิงความชื้นของภาคพื้นของประเทศจีนได้ คือแบ่งแถบอิงอุณหภูมิจากภาคใต้ถึงภาคเหนือเป็น แถบ equatorial , แถบ tropical , แถบ Sub - tropical , แถบ Warm - temperate , แถบ temperate และแถบ Cold - temperateและแบ่งแถบอิงความแห้ง - ชื้น จากตะวันออกเฉียงใต้ ถึงตะวันตกเฉียงเหนือเป็นแถบความชื้นสูง

( ๓๒ % ของพื้นดิน ) แถบกึ่งความชื้นสูง ( ๑๕ % ) แถบกึ่งแห้งแล้ง ( ๒๒ % ) และแถบแห้งแล้ง ( ๓๑ % )

รายชื่อมณฑล


เมืองหลวง

Heilongjian   เฮยหลงเจียง

Haerbin   ฮาร์ปิน

Jilin   จี๋หลิน

Changchun  ฉางชุน

Liaoning  เลี๋ยวหนิง

Shenyang  เสิ่นหยาง

Hebei   เหอเป่ย

Shijiazhuang   สือเจียจวง

Henan   เหอหนาน

Zhengzhou  เจิ้งโจว

Shanxi   ซานซี

Taiyuan  ไท่เยวี๋ยน

Shandong  ซานตง

Jinan   จี่หนาน

Shanxi   ส่านซี

Xian     ซีอาน

Gansu  กานซู่

Lanzhou   ล๋านโจว

Qinghai   ชิงไห่

Xining    ซีหนิง

Sichuan   ซื่อชวน ( เสฉวน )

Chengdu    เฉิงตู

Yunnan   ยวิ๋นหนาน ( ยูนนาน )

Kunming  คุนหมิง

Guizhou  กุ้ยโจว

Guiyang   กุ้ยหยาง

Hubei   หูเป่ย

Wuhan   อู่ฮั่น

Hunan   หูหนาน

Changsha    ฉางซา

Anhui    อันฮุย

Hefei    เหอเฝย

Jiangsu    เจียงซู

Nanjing    หนานจิง

Zhejiang    เจ้อเจียง

Hangzhou   หางโจว
Jiangxi     เจียงซี

Nanchang    หนานชาง

Fujian    ฟูเจี้ยน

Fuzhou   ฟูโจว

Guangdong    กว่างตง ( กวางตุ้ง )

Guangzhou     กว่างโจว ( กวางเจา )

Taiwan       ไถวาน ( ไต้หวัน )

Taibei       ไถเป่ย ( ไทเป )
Hainan      ไห่หนาน ( ไหหลำ )

Haikou      ไหโข่ว


--------------------------------------------------------------------------------


มหานคร


Beijing         เป่ยจิง ( ปักกิ่ง )

Tianjin          เทียนจิน ( เทียนสิน )

Shanghai         ซ่างไห่ ( เซี่ยงไฮ้ )

Chongqing         ฉงชิ่ง ( จุงกิง )


เขตการปกครองตนเองของชนกลุ่มน้อย

 เน่ยเมิ๋งกู่         
หนิงเซี่ย
ซินเจียง

ซีจ้าง

กวางสี




แผนที่จีน



.................................................................................................................................................................

ลำดับราชวงศ์ที่ปกครองแผ่นดินใหญ่จีน



Chronological Table of Chinese History
ราชวงศ์ ระหว่างปี (ค.ศ.)


The Xia Dynasty ( เซี่ย ) ( 2140 - 1711 B.C. )

The Shang Dynasty ( ซาง ) ( 1711 - 1066 B.C. )

The Zhou Dynasty ( โจว )

The Western Zhou ( 1066 - 771 B.C. )

The Eastern Zhou ( 770 - 256 B.C. )

The Qin Dynasty ( ฉิน ) ( 221 - 206 B.C. )

The Han Dynasty ( ฮั่น )

The Western Han ( 206 B.C. - 25 A.D. )

The Eastern Han ( 25 - 220 )

The Three Kingdom of Wei , Shu, Wu ( 220 - 280 )

The Jin Dynasty( จิ้น )

The Western Jin ( 265 - 317 )

The Eastern Jin ( 317 - 420 )

The Northern and Southern Dynasty ( 420 - 589 )

The Sui Dynasty ( สุย ) ( 581 - 618 )

The Tang Dynasty ( ถาง ) ( 681 - 807 )

The Five Dynasties ( 807 - 906 )

The Song Dynasty ( ซ่ง )

The Northern Song ( 906 - 1127 )

The Southern Song ( 1127 - 1279 )

The Liao Dynasty ( เลี๋ยว ) ( 907 - 1125 )

The Jin Dynasty ( จิน ) ( 1115 - 1234 )

The Yuan Dynasty ( หยวน ) ( 1206 - 1368 )

The Ming Dynasty ( หมิง ) ( 1368 - 1644 )

The Qing Dynasty ( ชิง ) ( 1616 - 1911 )

The Republic of China ( 1912 - 1949 )

The People's Republic of China ( founded on October 1,1949 )

     เรื่องนี้เป็นความรู้อย่างย่อ ๆ เกี่ยวกับราชวงศ์บนแผ่นดินจีน ตามลำดับจนถึงการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง เป็นสาธารณรัฐจีน และ สาธารณรัฐประชาชนจีน ( ในปัจจุบัน ) นำเสนอเป็นภาษาอังกฤษตามต้นฉบับเดิม เพิ่มเติมด้วยคำอ่านชื่อราชวงศ์เป็นภาษาไทยจากภาษาจีน ( กลาง = แมนดาริน ) เท่าที่จำเป็น คงจะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านตามสมควร

แดนน้ำลี้ลับแห่งลำน้ำ 3 สาย

     ย้อนหลังกลับไปเมื่อ 16 ปีก่อนในยุคปี 80 ของศตวรรษก่อน เจ้าหน้าที่ขององค์การยูเนสโกได้ค้นพบ ‘แดนน้ำ 3 สาย’ เข้าโดยบังเอิญ ขณะพิจารณาดูแผนที่ภาพถ่ายดาวเทียมของพื้นดินแถบซีกโลกเหนือ จึงรีบติดต่อไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประจำมณฑลซื่อชวน(เสฉวน) เพื่อให้จัดการดำเนินเรื่องเสนอชื่อเข้าเป็นมรดกโลก


    แต่แล้วเขาถึงก็ต้องตกตะลึงอย่างคาดไม่ถึง เมื่อพบว่า แดนธรรมชาติงดงามอันน่าอัศจรรย์ที่โอบล้อมด้วยขุนเขา 4 ลูก(เทือกเขาลี่ข่าซัน เกาหลีก่งซัน นู่ซัน และหยุนหลิ่ง) และมีแม่น้ำใหญ่ 3 สายไหลผ่านแห่งนี้ ไม่ได้ตั้งอยู่ที่มณฑลซื่อชวนแต่กลับอยู่ในแดนลี้ลับแห่งมณฑลหยุนหนัน

แดนน้ำ 3 สาย สมญานามที่เกิดจากการไหลผ่านของแม่น้ำสายใหญ่ถึง 3 สาย ได้แก่
 
 
นู่เจียง’(กลาง) นับเป็นแม่น้ำสากลสายสำคัญอีกเส้นหนึ่ง ที่มีจุดกำเนิดจากเทือกเขาสูงทางตอนเหนือของเขตปกครองตนเองทิเบต โดยตอนต้นน้ำมีชื่อเรียกว่า ซังชีว์ ไหลลงทิศตะวันตกเฉียงใต้ แล้วเปลี่ยนทิศทางเป็นตะวันออกเฉียงใต้ในชื่อว่า น่าชีว์


ต่อมาจึงไหลมุ่งสู่ทิศตะวันออก และกลายเป็นแม่น้ำนู่เจียงที่มีทิศทางมุ่งลงสู่ตะวันออกเฉียงใต้เข้าสู่มณฑลหยุนหนัน และไหลลงทางใต้ไปเรื่อยๆ จนผ่านเข้าประเทศพม่าที่รู้จักกันในนามว่า ‘แม่น้ำสาละวิน’ ซึ่งไหลออกสู่ทะเลอันดามันที่เมืองมะละแหม่ง

หลันชางเจียง’ (ขวา)จัดเป็นแม่น้ำสายใหญ่อันดับห้าของจีน ซึ่งมีต้นกำเนิดจากเชิงเขาลูกหนึ่งของเทือกเขาถังกู่ลาซันบนที่ราบสูงทิเบตในมณฑลชิงไห่ โดยมีชื่อเรียกแหล่งน้ำตอนต้นนี้ว่า จาชีว์ ไหลจากตะวันตกเฉียงเหนือสู่ตะวันออกเฉียงใต้ และภายหลังผ่านชางตู เมืองทางด้านตะวันออกของเขตปกครองตนเองทิเบต จึงเปลี่ยนชื่อเรียกเป็น ‘แม่น้ำหลันชางเจียง’

จากนั้นไหลเรื่อยผ่านเข้าสู่มณฑลหยุนหนัน และต่อเนื่องลงสู่ดินแดนตอนใต้กลายเป็น ‘แม่น้ำโขง’ แม่น้ำสายสำคัญที่ไหลผ่านดินแดนต่างๆอีก 5 ประเทศ ได้แก่ พม่า ลาว ไทย กัมพูชา แล้วจึงไหลออกสู่ทะเลจีนใต้ที่ประเทศเวียดนาม

จินซาเจียง’(ซ้าย) ต้นกำเนิดของ ‘แม่น้ำฉางเจียง’ หรือแยงซีเกียง ที่เป็นแม่น้ำสายใหญ่ที่สุดของจีน โดยไหลผ่านลงมาตามเส้นเขตแดนของมณฑลซื่อชวนและเขตปกครองตนเองทิเบต เรื่อยลงสู่มณฑลหยุนหนัน(ยูนนาน) แล้ววกย้อนขึ้นเหนือที่เขตสือกู่ อำเภอลี่เจียง

      อีกทั้งยังเป็นดินแดนที่อุดมด้วยพืชไม้นานาพันธุ์กว่า 6,000 ชนิด และเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าอีกกว่า 700 ชนิด (สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 173 ชนิด นก 417 ชนิด สัตว์เลื้อยคลาน 59 ชนิด สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ 36 ชนิด ปลาน้ำจืด 76 ชนิด จำพวกผีเสื้อและแมลง 31 ชนิด)


     ขณะเดียวกันก็เป็นที่อยู่อาศัยของชนกลุ่มน้อยกว่า 8 แสนคนจาก 16 ชนชาติ จึงกลายเป็นแหล่งรวมความหลากหลายทางภาษา ประเพณีวัฒนธรรม และความเชื่อต่างๆ เข้าไว้ด้วยกันได้อย่างเหมาะเจาะลงตัว


แดนน้ำ 3 สาย ต้อนรับนักท่องเที่ยว ผู้ใฝ่หาความงามแห่งธรรมชาติและขุนเขา ด้วย 8 เขตใหญ่ๆ ดังนี้



1) เขตอนุรักษ์ธรรมชาติเขาเกาหลีก่งซัน – แหล่งรวมพืชพรรณนานาชนิดที่มีสภาพอุดมสมบูรณ์มากที่สุดในเอเชียตะวันออก และจัดเป็นสถานที่เที่ยวชมความงามแถบลุ่มน้ำนู่เจียงที่สวยที่สุด

2) เขตอนุรักษ์ธรรมชาติเขาเหมยหลี่ซัน - มีหิมะปกคลุมตลอดทั้งปี ยอดเขาสูง 6,740 เมตร ณ วันนี้ยังไร้ผู้พิชิต เนื่องจากลักษณะภูมิประเทศและสภาพอากาศที่เลวร้าย นอกจากนี้ยังเป็นแบบฉบับความงามของหุบเขาแถบลุ่มน้ำหลันชางเจียง

3) เทือกเขาฮาปาซัน – แบบฉบับความงามอันวิจิตรจากการไหลผ่านทิวเขาที่ทอดตัวยาวเหยียดของลุ่มน้ำจินซาเจียง และถูกยกย่องให้เป็นแหล่งค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ธรรมชาติยุคน้ำแข็งแหล่งใหญ่ โดยมีการค้นพบร่องรอยธารน้ำแข็งเก่าและใหม่ บนยอดเขาสูง 5,396 เมตรจากระดับน้ำทะเล

4) เขาเชียนหู - อุดมด้วยทะเลสาบใหญ่น้อยกว่าร้อยแห่ง ถือเป็นแหล่งชุ่มชื่นแถบที่ราบสูงลุ่มน้ำจินซาเจียง ที่มีความสมบูรณ์ในเชิงระบบนิเวศวิทยาอีกแห่งหนึ่งภายในอาณาบริเวณแดนน้ำ 3 สาย

5) เขาหงซัน – หนึ่งในพื้นที่ร่มรื่นที่มีความสมดุลตามระบบนิเวศในแถบลุ่มน้ำจินซาเจียง งามด้วยความหลากหลายทางภูมิประเทศ ทั้งแบบที่ราบสูง ที่ราบลุ่ม ทุ่งหญ้า ทะเลสาบ และมีร่องรอยของธารน้ำแข็งเก่า

6) ทิวเขาหยุนหลิ่ง - มีสัตว์หายากใกล้สูญพันธุ์ที่สำคัญอย่าง ‘ลิงขนทอง’ เป็นตัวแทนสัตว์ป่าในความคุ้มครองทั้งหลายที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้

     ซึ่งจากผลการสำรวจครั้งล่าสุดพบว่า มีลิงขนทองอาศัยอยู่ทั้งสิ้น 4 กลุ่ม คิดเป็น 1 ใน 10 จากจำนวนทั้งหมดที่หลงเหลืออยู่ในปัจจุบันคือ 1,500-2,000 ตัว และมีสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั้งสิ้น 28 ชนิด โดยพื้นที่ในแถบนี้มีความอุดมสมบูรณ์ มีพืชคลุมดินเป็นอัตราส่วนถึง 76%

7) เขาเหล่าจวิน – เป็นพื้นที่บริเวณตอนปลายแม่น้ำจินซาเจียงของแดนน้ำ 3 สาย ที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล 3,200 เมตรขึ้นไปนั้น อุดมไปด้วยสวนป่าต้นนกแขกเต้ากว่า 100 ชนิด นับเป็นเขตที่มีความหลากหลายของพืชชนิดนี้มากที่สุดในแถบลุ่มน้ำจินซาเจียง เกิดเป็นภาพสวนสวรรค์ที่งดงามหาชมได้ยากยิ่ง

8) เขาเหล่าวอ – อาณาบริเวณตอนปลายแม่น้ำหลันชางเจียงของแดนน้ำ 3 สาย นับเป็นเขตที่ช่วยเสริมการชื่นชมทัศนียภาพความงามตามธรรมชาติในรูปแบบต่างๆได้อย่างดี เนื่องจากการให้ความสำคัญเชิงอนุรักษ์ทางธรรมชาติทั้งทะเลสาบ ทุ่งหญ้า และสวนดอกไม้ป่า

                     ทิวทัศน์ในฤดูหนาว           ยอดเขาปกคลุมด้วยหิมะ       แม่น้ำสามสายอันเลื่องชื่อ
ข้อมูล

มรดกโลกทางธรรมชาติ ปี ค.ศ. 2003 จัดเป็นมรดกโลกลำดับที่ 29 ของประเทศจีน

ที่ตั้งและอาณาเขต ณ เมืองลี่เจียง ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของมณฑลหยุนหนัน ระหว่างเส้นลองติจูด 98องศา ถึง 100 องศา 30 ลิปดาตะวันออก และเส้นละติจูด 25 องศา 30 ลิปดา ถึง 29 องศาเหนือ

    นับเป็นพื้นที่กว่า 41,000 ตารางกิโลเมตร โดยมีแม่น้ำ 3 สายใหญ่ ไหลผ่านคิดเป็นระยะทางจากเหนือลงใต้ยาวกว่า 170 กิโลเมตร ซึ่งระยะชิดใกล้กันที่สุดของทั้ง 3 สายนั้น วัดได้ห่างกันเพียง 66 กิโลเมตร แต่กลับมีปลายทางแยกไหลออกสู่ทะเลไกลห่างกันถึง 3,000 กิโลเมตร แดนน้ำ3สายนี้ จึงนับเป็นแดนมหัศจรรย์มีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อยมาก.



                                        สระสวรรค์ "เทียนฉือ"       วัดเฟยไหลซื่อ(飞来寺)ที่เขาเหมยลี่ซัน

ข้อมูลเดินทาง


    เดินทาง - แดนน้ำสามสาย อยู่ในอาณาบริเวณเดียวกับแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอันสวยงาม ที่มีชื่อเสียงของเมืองเซียงเกอหลี่ลา(แชงกรีล่า 香格里拉) มณฑลหยุนหนัน เมืองใน 'เส้นทางขี่ม้าค้าใบชา' (茶马古道)ในสมัยโบราณ (หรือเส้นทางสายแพรไหมตอนใต้) ยังมีทิวทัศน์ใกล้เคียงกับทิวเขายอดหิมะในแถบเขตปกครองตนเองทิเบต เพราะมีชายแดนติดต่อกัน

        นักเดินทางมักเลือกเดินทางโดยรถยนต์จากเมืองลี่เจียง (丽江 -ราว 200 กม.) เต๋อชิน (德钦 -ราว 145 กม.) ต้าหลี่ (大理 -ราว 300 กม.) หรือคุนหมิง (昆明 -ราว 635กม.) ซึ่งอาจใช้เวลาเป็นวันๆ

         เมืองแชงกรีล่ามีสนามบินภายในประเทศ ซึ่งห่างจากตัวเมืองเพียง 6 กม. แต่โดยทั่วไปมีเครื่องลงน้อย ส่วนใหญ่บินจากเมืองคุนหมิง

         แดนน้ำสามสายเป็นเขตทิวทัศน์ซึ่งมีอาณาบริเวณกว้างใหญ่มาก และมีจุดชมความงามหลายแห่ง จำเป็นต้องใช้เวลาเดินทางและท่องเที่ยวอย่างน้อย 3 วัน ซึ่งสามารถใช้บริการทัวร์ท้องถิ่น 3-4 วัน

        อุณหภูมิ - อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี 5.1 องศาเซลเซียส เดือนมกราคมอุณหภูมิเฉลี่ย -4.1 องศาฯ เดือนกรกฎาคมอุณหภูมิเฉลี่ย 13.2 องศาฯ ฤดูใบไม้ร่วงเหมาะแก่การท่องเที่ยวที่สุด.



            ท้องฟ้า สายลม แสงแดดและลมหนา; ใครสนใจก็ไปเที่ยวชมได้ค่ะ  บรรยากาศแบบนี้นึกถึงเมืองเหนือของเรา(ซึ่งก็สวยเหมือนกัน)!!!!!

'โปตะลา'พระราชวังแดงบนหลังคาโลก

พระราชวังโปตะลา


     พระราชวังโปตะลา ตั้งอยู่ใจกลางเมืองลาซาบนเขาแดง มีความสูงกว่าระดับน้ำทะเล 3,700 เมตร คำว่า ‘โปตะลา’ มาจากภาษาอินเดียโบราณหมายถึง ‘ดินแดนอันศักดิ์สิทธิ์ของพระโพธิสัตว์’

     พระราชวังโปตะลา สร้างขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้าสรองตาสันคัมโปกษัตริย์องค์ที่ 32 แห่งราชวงศ์ถู่ฟาน โดยมีชื่อว่า ‘พระราชวังแดง’ ต่อมาราชวงศ์ถู่ฟานล่มสลาย พระราชวังแห่งนี้จึงถูกทิ้งให้รกร้างทรุดโทรมลง จวบจนเมื่อศตวรรษที่17 พุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองขึ้นในดินแดนแห่งนี้

     ในปีค.ศ. 1642 องค์ทะไลลามะที่ 5 ได้รวมอำนาจของศาสนจักรและอาณาจักรเข้าไว้ด้วยกัน ลาซากลับเป็นศูนย์กลางของทิเบตอีกครั้ง พระองค์ได้ทำการซ่อมแซมพระราชวังแดงแห่งนี้เสียใหม่ เพื่อใช้เป็นสถานที่ว่าราชการและที่ประทับ แล้วเปลี่ยนคำเรียกมาเป็น ‘พระราชวังโปตะลา’ นับจากนั้นมา สถานที่แห่งนี้ก็ได้กลายเป็นศูนย์รวมอำนาจทางการเมืองและศาสนาของทิเบตในเวลาต่อมา

      พระราชวังโปตะลาเป็นหมู่สถาปัตยกรรมขนาดใหญ่โตโอฬาร สร้างขึ้นตามลักษณะของขุนเขา เป็นอาคาร 13 ชั้น สูง 117 เมตร มีลักษณะเหมือนป้อมปราการแบบทิเบต เป็นการผสมผสานศิลปะทางสถาปัตยกรรมของทิเบตและจีนโบราณ โดยได้ชื่อว่าเป็น ‘ไข่มุกราตรีแห่งหลังคาโลก’

       สิ่งปลูกสร้างที่สำคัญของพระราชวังโปตะลาได้แก่ วังขาวและวังแดง รวมถึงสิ่งปลูกสร้างบริเวณเชิงเขาในละแวกใกล้เคียง วังขาว สร้างขึ้นในปี 1648 เป็นสถานที่ซึ่งองค์ทะไลลามะใช้ในการดูแลบริหารบ้านเมืองและพระศาสนา เป็นอาคารสูง 7 ชั้น ตั้งอยู่ทางทิศเหนือ


       ส่วนวังแดง ตั้งอยู่กึ่งกลางพระราชวังโปตะลา สิ่งปลูกสร้างหลักสร้างเสร็จในปี 1964 แบ่งออกเป็น 6 ชั้น เป็นที่ประดิษฐานองค์สถูปของทะไลลามะ และเป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา

      โดยรอบของพระราชวังโปตะลายังประกอบไปด้วย โรงเรียนสอนศาสนา กุฏิพระ และห้องหับต่าง ๆ ทางปีกตะวันออกและตก นอกจากนี้ ยังมีเขตเมืองเก่า เทศบาลท้องถิ่น โรงพิมพ์พระคัมภีร์ คุกคุมขัง สระน้ำและสวน เป็นต้น

       จากช่วงกลางศตวรรษที่ 17 จนถึงก่อนหน้าที่กองทัพแดงของจีนจะเข้าปลดแอกทิเบตในปี 1959 พระราชวังโปตะลามีสถานะเป็นพระราชวังฤดูหนาวขององค์ทะไลลามะ และเป็นที่ประกอบกิจกรรมทางการเมืองการปกครอง และศาสนกิจมาโดยตลอด ถือเป็นศูนย์กลางอำนาจทั้งในทางอาณาจักรและศาสนจักรของทิเบต และยังเป็นตัวแทนชิ้นเอกของผลงานทางศิลปวัฒนธรรมและศาสนาของชนชาติทิเบตอีกด้วย




วัดต้าเจาหรือวัดชอคัง


วัดต้าเจาตั้งอยู่ทางทิศตะวันวันออกเฉียงใต้ของเมืองลาซา สร้างขึ้นในปีค.ศ. 601 (ราชวงศ์ถัง) วัดต้าเจามีความหมายว่า ‘สถานที่ประดิษฐานพระคัมภีร์’ เป็นทางสถาปัตยกรรมที่ผ่านการผสมผสานอย่างลงตัวของศิลปะสมัยถังของจีนและศิลปะทิเบต เมื่อแรกสร้างวัดต้าเจามีพื้นที่เพียง 8 ห้อง ต่อมาเมื่อถึงศตวรรษที่ 17 องค์ทะไลลามะที่ 5 ได้ทรงซ่อมสร้างและต่อเติมครั้งใหญ่ กลายเป็นอารามหลวงที่มีขนาดพื้นที่กว่า 25,100 ตารางเมตร
     สิ่งปลูกสร้างที่สำคัญของวัดต้าเจาได้แก่ พระวิหารหลวง ขนาด 4 ชั้น มีลักษณะตัวอาคารแบบจีน แต่หลังคาส่วนบนประดับตกแต่งด้วยศิลปะทิเบต ชั้นล่างของพระวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปทองคำ ที่องค์หญิงเหวินเฉิงแห่งราชวงศ์ถังนำติดตัวมาเมื่อครั้งอภิเษกกับพระเจ้าสรองตาสันคัมโป (ค.ศ. 618 – 904)

     ชั้น 2 ประดิษฐานรูปปั้นของพระเจ้าสรองตาสันคัมโป และพระมเหสีทั้งสององค์คือ องค์หญิงเหวินเฉิงจากจีนและองค์หญิงชื่อจุนจากเนปาล

ชั้น 3 เป็นลานกลางแจ้ง เปิดโล่งเสมือนหนึ่งเป็นหน้าต่างสู่ฟ้า สามารถชมทัศนียภาพหลังคาสีทองของพระวิหารได้อย่างชัดเจน




ชั้น 4 เป็นหลังคาที่ทำด้วยทองคำ 4 หลัง โดยรอบพระวิหารรวมทั้งแนวระเบียงทางเดินเต็มไปด้วยจิตรกรรมฝาผนังเป็นพื้นที่กว่า 2,600 ตารางเมตร โดยมากเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธประวัติและประวัติบุคคลสำคัญต่าง ๆ ของทิเบต นอกจากนี้ ภายในวัดยังเก็บรักษาวัตถุโบราณอันมีค่าอีกมาก

 
 
พระตำหนักนอร์บุลิงกะ


พระตำหนักนอร์บุลิงกะ ตั้งอยู่ฝั่งตะวันตกของเมืองลาซาห่างออกไปประมาณ 2 กิโลเมตร คำว่า ‘นอร์บุลิงกะ’ ในภาษาทิเบตหมายถึง ‘สวนป่าอันเป็นที่รัก’ สร้างในสมัยองค์ทะไลลามะที่ 7 เป็นพระราชวังฤดูร้อนที่ซึ่งองค์ทะไลลามะใช้เป็นสถานที่บริหารบ้านเมือง และประกอบกิจกรรมทางศาสนา



เห็นได้ชัดว่าสถานที่แห่งนี้เป็นที่รักยิ่งของทะไลลามะหลายองค์ต่อมา เนื่องจากนอร์บุลิงกะได้ผ่านการบูรณะซ่อมแซมและขยายต่อเติมในยุคหลังอีกหลายครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในสมัยองค์ทะไลลามะที่ 8 และ 13 มีการก่อสร้างเพิ่มเติมครั้งใหญ่ นั่นคือ ‘สวนป่าสีทอง’ที่เป็นส่วนสถาปัตยกรรมที่มีความสวยงามเป็นเอกของนอร์บุลิงกะมาจนทุกวันนี้

      นอร์บุลิงกะ เป็นแหล่งรวมพืชพันธุ์มากกว่า 100 ชนิด มีทั้งที่เป็นไม้ดอกที่พบได้ทั่วไปในลาซา และพันธุ์ไม้จากยอดเขาเอเวอร์เรสที่หาดูได้ยาก นอกจากนี้ ยังมีพันธุ์ไม้ส่วนหนึ่งที่นำมาจากแผ่นดินใหญ่และภายนอกประเทศ จึงได้ชื่อว่าเป็นสวนรุกชาติบนที่สูง


     นอร์บุลิงกะแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ เขตพระราชฐาน เขตพระราชฐานชั้นนอก และเขตสวนป่า สำหรับโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมที่สำคัญ ได้แก่ หมู่พระตำหนักเก๋อซังพอจางและสวนทางทิศใต้ ห่างออกไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือราว 120 เมตร

      ตำหนักจินเซ่อพอจางหรือ ‘สวนป่าสีทอง’ที่มีความงามเป็นที่เลื่องลือที่สุดของนอร์บุลิงกะ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของนอร์บุลิงกะ มีรูปแบบทางสถาปัตยกรรมทิเบตอย่างชัดเจน วิหารใหญ่มีจิตรกรรมฝาผนังฝีมือละเอียดประณีตงดงาม นอกจากนี้ นอร์บุลิงกะยังเก็บรักษาโบราณวัตถุและพระคัมภีร์อันมีค่าหายากอีกมาก

      สถานที่ทั้งสามแห่งนี้ล้วนเป็นผลงานทางศิลปะชิ้นเอกของชาวทิเบต มีความงามทางสถาปัตยกรรมที่ผ่านการสร้างสรรค์อย่างประณีตเป็นเอกลักษณ์ และยังมีคุณค่าความสำคัญทางประวัติศาสตร์และศาสนาอีกด้วย




ข้อมูล


พระราชวังโปตะลา มรดกโลกทางวัฒนธรรม ปีค.ศ. 1994 และวัดต้าเจาหรือวัดชอคัง (เพิ่มเติม)

ที่ตั้ง- เมืองลาซา เขตปกครองตนเองทิเบต

สร้างในราวศตวรรษที่ 7

อาณาเขต – 360,000 ตารางเมตร

ตำหนักนอร์บุลิงกะ มรดกโลกทางวัฒนธรรม ปีค.ศ. 2001

สร้างในราวกลางศตวรรษที่ 18

อาณาเขต – 3,600,000 ตารางเมตร



ข้อมูลท่องเที่ยว


การเดินทาง

เดินทางสู่ลาซา โดยเครื่องบินจากปักกิ่ง หรือเฉิงตูลงที่สนามบินก้งกา และนั่งรถต่อเข้าสู่ตัวเมือง เดินทางโดยรถไฟจากปักกิ่งลงที่เมืองซีหนิง(มณฑลชิงไห่) และเปลี่ยนขบวนรถมาลงที่เมืองเกอเอ่อมู่ จากนั้นนั่งรถโดยสารระยะทางไกลอีก 1 วัน 1 คืน เข้าสู่เมืองลาซา ระหว่างทางผ่านความสูงมากกว่า 8,000 เมตร ระวังโรคแพ้ที่สูง (เส้นทางนี้ใช้เวลากว่า 1 สัปดาห์จึงจะถึงเมืองลาซา แนะนำเฉพาะผู้รักการผจญภัย ฟังพูดภาษาจีนได้คล่อง และมีเวลาเท่านั้น)



ราคาบัตรผ่านประตู

พระราชวังโปตะลา 100 หยวน ขึ้นหลังคาทองคำ 10 หยวน เข้าชมนิทรรศการอัญมณีและเครื่องประดับ 10 หยวน เปิดทำการทุกวัน 2 เวลา เช้า 9:00—12:00 น. บ่าย 15:00—17:00 น. เว้นวันเทศกาลประจำปีหรือวันที่มีกิจกรรมสำคัญ นอกจากนี้ สระหลงหวังถัน(龙王滩)รอบวัง ยังเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ เปิดทุกวันเวลา 9:00—17:30 น.

การเดินทางขึ้นวังโปตะลา จะเดินขึ้นเขาทางประตูหน้า หรือ นั่งรถแท็กซี่ที่ด้านหลังเขาราคาประมาณ 10 หยวน ขึ้นไปส่งบนยอดเขาและเดินเท้าลงมาก็ได้

วัดต้าเจา 70 หยวน (เข้าได้หลายครั้ง) เปิดให้เข้าชม 9:00—18:00 น. ที่วัดแห่งนี้มีการประกอบพิธีทางศาสนาทุกวัน นอกจากนี้เวลาบ่ายพระลามะจะมารวมกันที่ลานหลังวัดเพื่ออภิปรายคัมภีร์ เป็นการโต้ตอบปุจฉาวิสัชนา ในหัวข้อคำถามเกี่ยวกับคำสอนในตำรา นักท่องเที่ยวสามารถเยี่ยมชมได้ห่างๆ

เนื่องจากวัดต้าเจาตั้งอยู่ใจกลางเมือง เดินทางสะดวกสบาย จะเดินเท้าหรือขึ้นรถโดยสารขนาดกลางมาลงที่โรงพยาบาลทิเบต หรือใช้บริการรถสามล้อ ราคา 4 หยวน

ตำหนักนอร์บุลิงกะ 40 หยวน เดินทางโดยรถสามล้อ หรือเดินเท้าก็ได้ อยู่ใกล้กับโรงพยาบาลกงเหยิน ปัจจุบันอยู่ในบริเวณที่เป็นสวนสาธารณะของเมือง

สถานที่ท่องเที่ยวอื่นๆ


ถนนปาหลังเจีย(八廊街) บริเวณหลังวัดต้าเจา ในเมืองลาซา เป็นที่ขายของที่ระลึกและสินค้าพื้นเมืองชาวทิเบต ราคาย่อมเยา

วัดเจ๋อเปิ้ง(哲蚌寺) นอกเมืองลาซา ราคาบัตร 40 หยวน แนะนำให้เช่ารถแท็กซี่ หากท่านขึ้นรถโดยสารขนาดกลางจากตัวเมืองลาซา รถจะไม่พาไปถึงวัด ท่านต้องเดินเท้าขึ้นเขาเองซึ่งจะเหนื่อยมากๆ



ของดีลาซา

อาหารขึ้นชื่อเมืองลาซา

อาหารในชีวิตประจำวันของชาวทิเบตคือ เนื้อวัวจามรี เนื้อแกะ ซึ่งปรุงแบบทิเบต (ร้านอาหารบางแห่งนำมาปรุงแบบเนื้อสเต็กของชาวตะวันตก) รับประทานร่วมกับแป้งทำจากข้าวสาลี ชานมแพะ ชาท้องถิ่นทำจากเนย(酥油茶) และนมเปรี้ยว(โยเกิร์ต)

เทศกาลสำคัญ

เทศกาลชอตัน (雪顿节) เทศกาลใหญ่ประจำปีของชาวทิเบต กิจกรรมหลัก คือ การนำผืนผ้าที่ปักที่เป็นรูปพระพุทธรูปขนาดใหญ่ออกมาตากแดดที่เชิงเขา หลังจากนั้นจะมีการแสดงดนตรี การเต้นระบำพื้นเมืองของชาวทิเบต สถานที่ที่จัดกิจกรรมนี้ยิ่งใหญ่ที่สุดอยู่ที่วัดเจ๋อเปิ้ง นอกจากนี้ที่วังนอร์บุลิงกะในสวนสาธารณะประจำเมือง ยังมีการแสดงระบำพื้นบ้าน และงิ้วทิเบตของคณะงิ้วหลายๆคณะด้วย

สินค้าพื้นเมือง

ส่วนใหญ่เป็นสินค้าหัตถกรรม อาทิ พรมถัก หมวก รองเท้า ผ้าประดับประตู เครื่องเงิน เครื่องประดับตกแต่งร่างกาย ทำจากหินหรือกระดูกสัตว์ มีดพก ฯลฯ แหล่งจำหน่ายสินค้าเหล่านี้อยู่ที่ถนนปาหลังเจีย



ฤดูท่องเที่ยว

ฤดูร้อนเป็นช่วงท่องเที่ยวลาซาที่ดีที่สุด ระหว่างเดือนมิถุนายน-สิงหาคม อากาศในตอนกลางวันสูงสุดเฉลี่ย 28 องศา ต่ำสุด 14 องศา ฤดูร้อนกลางวันแดดจัดมาก ควรเตรียมเครื่องป้องกันแสงแดดให้ดี



ข้อควรระวัง

ไม่ว่าท่านจะเลือกเดินทางสู่เมืองลาซาด้วยเส้นทางใด และเมื่อถึงเมืองลาซาแล้ว ท่านจะต้องพบกับอาการโรคแพ้ที่สูง ซึ่งลักษณะอาการที่เกิดขึ้น จะมากน้อยตามสภาพร่างกายแต่ละคน บางท่านอาจมาแสดงอาการเมื่อกลับถึงบ้านแล้ว และแม้แต่คนที่สุขภาพแข็งแรงดีก็อาจเป็นได้ เพราะทิเบตตั้งอยู่เหนือระดับน้ำทะเลกว่า 3,500 เมตร ความสูงแตกต่างจากสภาพพื้นราบที่ร่างกายเราเคยชินอย่างมาก

อาการโดยทั่วไป คือ ปวดศีรษะอย่างรุนแรง หายใจลำบาก ไม่มีเรี่ยวแรง หรือเหนื่อยหอบง่ายแม้ไม่ได้ออกแรง บางท่านอาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียน สามารถซื้อหายาระงับอาการแก้โรคความสูง และเพิ่มออกซิเจนในสมอง ได้ตามร้านขายยาในเมืองเฉิงตูหรือในกรุงปักกิ่ง

นอกจากนี้เมื่อถึงเมืองลาซาแล้วควรพักผ่อน 1-2 วัน ก่อนออกเที่ยวชมสถานที่ต่างๆในเมือง ให้เดินช้าๆ และอย่าออกแรงหรือตื่นเต้นมากเกินไป สำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจโปรดปรึกษาแพทย์ประจำตัวก่อนออกเดินทาง


ใครจะไปก็กรุณาเตรียมตัวให้พร้อมนะคะ จะได้เที่ยวแบบสบายๆหายห่วงค่ะ


ค้นข้อมูลเพิ่มเติมที่ : www.ctrip.com

‘โบราณสถานอาณาจักรโคคูเรียว’ มรดกโลกเชื้อสายเกาหลีในจีน.?.

จะ‘เกาโกวหลี’ หรือ ‘โคคูเรียว’ ?
      ชาวไทยที่เคยเรียนประวัติศาสตร์เกาหลี รู้จัก 1 ใน 3 อาณาจักรโบราณ นามว่า ‘โคคูเรียว’ ซึ่งเป็นอาณาจักรอันยิ่งใหญ่ของชาวเกาหลีในอดีตเป็นอย่างดี และ ‘เกาโกวหลี’ คืออีกชื่อหนึ่งในภาคภาษาจีน

     คำว่า ‘เกาโกวหลี’ (高句丽‘句’ อ่านว่า โกว) มีชื่อย่อว่า โกวหลี (句丽 หรือ 句骊) หรือ เกาหลี (高丽) ภาษาจีนกลางหมายถึง ชนชาติโบราณที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ตามชายแดนทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน ราวคริสต์ศตวรรษที่ 1 – 7 หรือเป็นคำที่ชาวจีนใช้เรียกชาวเกาหลีโบราณนั่นเอง




ข้อมูล


มรดกโลกทางวัฒนธรรม ปี 2004 มรดกโลกลำดับที่ 30 ในประเทศจีน

     ที่ตั้งและอาณาเขต : เมืองเก่าแห่งอาณาจักรโคคูเรียวตั้งอยู่บนเขาอู๋หนี่ว์ซัน(五女山) ที่คาบเกี่ยวระหว่างพื้นที่อำเภอซินปิน(新宾县) และอำเภอปกครองตนเองของชนชาติแมนจู หวนเหริน(桓仁县) ในมณฑลเหลียวหนิง มาจนถึงเมืองจี๋อัน(集安市) ในมณฑลจี๋หลิน เป็นอาณาบริเวณของเมืองเก่าอู๋หนี่ว์ซันซันเฉิง เมืองเก่ากั๋วเน่ยเฉิง เมืองเก่าหวันตูซันเฉิง โบราณสถานสุสานกษัตริย์ 12 หลุม และสุสานคนในตระกูลสูงศักดิ์ 26 หลุม รวมถึงหลุมศพแม่ทัพและศิลาจารึกโบราณของกษัตริย์ห่าวไท่หวัง(好太王)
     สร้างเมื่อ : เมืองเก่ากั๋วเน่ยเฉิง สร้างเมื่อค.ศ.3 เมืองเก่าหวันตูซันเฉิง สร้างราวค.ศ.198 สุสานกษัตริย์ห่าวไท่หวัง สร้างเมื่อค.ศ.391


ข้อมูลการเดินทาง : เมืองจี๋อันเพิ่งเปิดเป็นเมืองท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมในภาคอีสานของจีนได้ไม่นาน ตั้งอยู่ทางใต้สุดของมณฑลจี๋หลิน ริมฝั่งแม่น้ำยาลู่เจียง(鸭绿江) ชายแดนประเทศเกาหลีเหนือ การเดินทางสู่เมืองจี๋อันสามารถโดยสารรถยนต์และรถไฟได้จาก ปักกิ่ง ชิงเต่า ต้าเหลียน เสิ่นหยัง ฉางชุน ลงที่สถานีรถไฟเมืองทงฮว่า(通化市) และเปลี่ยนรถต่อมาที่เมืองจี๋อัน จากทงฮว่าถึงจี๋อันใช้เวลาเดินทางราว 3 ชม.



ราคาบัตร : ตัวเลขยังไม่ระบุชัดเจน จากเดิมอยู่ระหว่าง 10 – 30 หยวน อาจมีการปรับขึ้นเป็น 340 หยวน


อุณหภูมิ : มณฑลจี๋หลินมี 4 ฤดูกาลชัดเจน อากาศค่อนข้างหนาว อุณหภูมิเฉลี่ย 3-5 องศาเซลเซียสตลอดปี อุณหภูมิต่ำสุดในเดือนมกราคม -18 องศาฯ อุณหภูมิสูงสุดในเดือนกรกฎาคม 20 องศาฯ เดือนตุลาคม-เมษายน เหมาะแก่การเล่นสกี

หมายเหตุ : คำเรียกชื่อเมืองโบราณที่เกี่ยวเนื่องกับอาณาจักรโคคูเรียว ใช้หลักการถอดเสียงในภาษาจีนกลาง ส่วนชื่อเฉพาะที่เป็นภาษาเกาหลีอาจเรียกผิดเพี้ยนจากความเป็นจริง เนื่องจากข้อมูลหลายฉบับเรียกไม่ตรงกัน ขออภัยมา ณ ที่นี้


ความเป็นมา


      สมัยจักรพรรดิฮั่นหยวนตี้ ปีที่ 2 แห่งรัชกาลเจี้ยนเจา (ราว 37 ปี ก่อนคริสต์ศักราช) แห่งราชวงศ์ฮั่นตะวันตก(202 ก่อนคริสต์ศักราช - ค.ศ.25) บรรพบุรุษชาวเกาหลีได้แผ้วถางสร้างเมืองขึ้นที่บริเวณอำเภอเกาโกวหลี (ปัจจุบันคือ อ.ซินปิน ในมณฑลเหลียวหนิงของจีน) หลังจากนั้นก็สถาปนาเมืองหลวงและขยายอำนาจจนมีอาณาเขตกว้างขวางไปทั่ว ตามที่รู้จักกันในชื่อ ‘อาณาจักรโคคูเรียว’
     สุสานนายพลในเมืองจี๋อัน ดินแดนอดีตราชธานีของอาณาจักรโคคูเรียว หลุมศพซึ่งมีลักษณะรูปทรงคล้ายคลึงกับหลุมศพของชาวอินคาและมายาในสหรัฐอเมริกาอย่างน่าพิศวง



     การที่องค์การยูเนสโกผ่านมติและประกาศให้ โบราณสถานและสุสานจักรพรรดิและคนในตระกูลสูงศักดิ์แห่งอาณาจักรเกาโกวหลี (高句丽王城 王陵及贵族墓葬) เป็นมรดกโลกของจีนแห่งที่ 30 เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ด้านหนึ่ง ได้นำความกระวนกระวายใจมาสู่นักวิชาการเกาหลีใต้โดยทันที เนื่องจากชาวเกาหลีโดยทั่วไปรู้จักอาณาจักรเกาโกวหลีที่จีนระบุนี้ ในฐานะอาณาจักรโคคูเรียว( Koguryo Kingdom 37 ปีก่อนคริสต์ศักราช - ค.ศ.668 ) 1 ใน 3 อาณาจักรโบราณของบรรพบุรุษเกาหลี** ที่ราชสำนักถังเข้ามาตียึดไป


     ยังผลให้คณะผู้แทนจากเกาหลีใต้ยื่นหนังสือต่อคณะกรรมการพิจารณามรดกโลก ครั้งที่ 28 ในวันที่ 2 ของการประกาศมติดังกล่าว เพื่อยืนยันถึงความเป็นเจ้าของประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของบรรพบุรุษเกาหลีโบราณในแหล่งมรดกโลกนี้
     เนื่องจากหลังการประกาศให้สุสานแห่งนี้เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมของจีน เท่ากับว่าเป็นการยอมรับสถานะของอาณาจักรโคคูเรียวว่า เป็นส่วนหนึ่งในประวัติศาสตร์ชนชาติจีน ซึ่งค้านกับความเห็นของนักวิชาการเกาหลีใต้

     สื่อมวลชนนอกแผ่นดินใหญ่หลายแหล่ง ทั้งไต้หวัน ฮ่องกง และเกาหลีใต้ ต่างนำเสนอความเคลื่อนไหวดังกล่าวอย่างครึกโครม ซึ่งบางแห่งมีการอ้างถึง เว็บไซต์ของกระทรวงการต่างประเทศของจีน บทที่กล่าวถึงประวัติศาสตร์ประเทศเกาหลีใต้ ที่ก่อนหน้านี้ได้ลบข้อความส่วนที่เกี่ยวข้องกับ ‘เกาโกวหลี’ หนึ่งในสามอาณาจักรเก่าแก่ของเกาหลีออกไป


     รัฐบาลเกาหลีใต้จึงเรียกร้องให้รัฐบาลจีนยอมรับว่า อาณาจักรเกาโกวหลีเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ประเทศเกาหลีเหนือ-เกาหลีใต้ และขอให้แก้ไขข้อมูลในเว็บไซต์ดังกล่าว (www.fmprc.gov.cn)



     ทั้งนี้ คณะผู้แทนทางการเมืองจากเกาหลีใต้ยังขออนุญาตเดินทางมาเยี่ยมชมโบราณสถาน ณ สุสานเกาโกวหลีในมณฑลของจีน แต่ก็ได้รับการปฏิเสธเรื่องการออกวีซ่าจากทางการปักกิ่ง ทำให้ฝ่ายผู้แทนของเกาหลีใต้เคืองใจ และกลายเป็นข้อพิพาทที่ส่งผลให้รัฐบาลจีนสั่งปิดเว็บไซต์ทางการเกาหลีใต้(ภาษาจีน) 10 เว็บ เนื่องจากเกรงว่าสถานการณ์จะบานปลาย จนเกิดความขัดแย้งระหว่างชนชาติ หรือการอ้างสิทธิความเป็นเจ้าของบนแผ่นดินใหญ่

     ความขัดแย้งอันเนื่องมาจากมรดกโลกแห่งนี้ได้ผ่อนคลายลง เมื่อตัวแทนของทั้งสองรัฐบาลตกลงกันได้ เมื่อรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศของจีน นายอู่ต้าเหว่ย เข้าพบหารือกับนายบาน คีมุน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและการค้าระหว่างประเทศ ของเกาหลีใต้ ขณะเยือนกรุงโซล เป็นการประชุมที่ใช้เวลาเจรจากันยาวนานกว่า 10 ชม.


คลังศิลปะบรรเจิดแห่งเอเชียอีสาน
อีกด้านหนึ่งของความร้อนแรงของโบราณสถานในอาณาจักรแห่งนี้ คงต้องกล่าวถึงคุณค่าทางประวัติศาสตร์วัฒนธรรม และความเป็นกรุศิลปะอันล้ำค่าในภาคอีสานของทวีปเอเชีย ที่หลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้สถานที่นี้กลายเป็น ‘มรดกของโลก’ และอาจเป็นข้อที่ทุกฝ่ายเบาใจได้ว่า มันไม่ได้เป็น ‘สมบัติ’ ของคนสัญชาติใดสัญชาติหนึ่ง ถึงแม้จะมีเรื่องผลประโยชน์ทางธุรกิจท่องเที่ยวเข้ามาพัวพันอยู่บ้างก็ตาม



      เป็นเวลากว่า 20 ปีมาแล้ว ที่นักโบราณคดีจีนทำการขุดค้นและศึกษาอาณาจักรโบราณในมณฑลทางอีสานของประเทศ และพบว่า มีโบราณสถานที่เป็นหลุมศพกระจายอยู่มากมายกว่า 7,000 แห่ง สำหรับโบราณสถานในอดีตอาณาจักรอันยิ่งใหญ่ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกในปีนี้ ครอบคลุมซากเมืองเก่าอู๋หนี่ว์ซันซันเฉิง (五女山山城 ) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในเขตแคว้นราชธานีแห่งแรก เหอเซิ่งกู่เฉิง (纥升骨城) ของอาณาจักรโคคูเรียว เมื่อราว 37 ปี ก่อนคริสต์ศักราช เมืองเก่ากั๋วเน่ยเฉิง (国内城) ราชธานีแห่งที่ 2 ของอาณาจักรโคคูเรียว (ค.ศ.3) และเมืองพิทักษ์ หวันตูซันเฉิง (丸都山城) ฐานกำลังทหารพิทักษ์เมืองหลวงกั๋วเน่ยเฉิง ที่เคยเป็นเมืองหลวงชั่วคราวถึง 2 ครั้ง สร้างขึ้นเป็นแนวยาวบนสันเขา 6,947 เมตร ปัจจุบันพบซากประตู เมืองเก่า 7 จุด


      รวมไปถึงสุสานกษัตริย์และคนในตระกูลสูงศักดิ์แห่งอาณาจักรโคคูเรียว และซากพระราชวังเก่า นอกจากนี้ ห่างออกไปทางตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองจี๋อัน 5 กม. ที่ตีนเขาหลงซัน(龙山) เป็นที่ตั้งของสุสานหินรูปร่างคล้ายปีรามิดแห่งอียิปต์ เป็นหลุมฝังศพท่านนายพลที่ถูกเรียกขานว่า ‘ปีรามิดแห่งตะวันออก’

      และส่วนที่สำคัญที่สุด ซึ่งเป็นที่มาของความหวงแหนในวัฒนธรรมอันทรงคุณค่า อีกทั้งเป็นความภาคภูมิใจที่ฝังลึกอยู่ในจิตสำนึก ของทั้งลูกหลานชนชาติเกาหลีเฉกเช่นเดียวกับชนชาวจีน คือ ‘สุสานประดับภาพวาดฝาผนังแห่งโคคูเรียว’ (高句丽壁画墓) ที่เปรียบได้กับ ‘คลังศิลปะล้ำค่าแห่งเอเชียอีสาน’




     สุสานประดับภาพวาดแห่งโคคูเรียวที่พบส่วนใหญ่อยู่ในยุคต้นคริสต์ศตวรรษที่ 4 เนื้อหาภาพวาดโดยทั่วไปในยุคแรกเป็นเรื่องราวชีวิตความเป็นอยู่ของกษัตริย์และบรรดาเจ้าขุนมูลนาย ความหรูหราของงานเลี้ยงสังสรรค์ การเต้นรำ ละครและการเดินทาง นอกจากนี้ ก็มีภาพของพระราชวัง ศาลา สระน้ำ คอกม้า ดอกไม้ใบหญ้า ดวงดาว พระอาทิตย์ พระจันทร์
       โดยก่อนวาดภาพช่างเขียนจะฉาบปูนขาวที่ผนังหิน แล้วจึงวาดภาพลงสีตามต้องการ ภาพวาดที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์จะสะท้อนประเพณีชีวิตที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวชาติเกาหลีโบราณ เช่น ภาพการล่าสัตว์ กีฬามวยปล้ำ(คล้ายซูโม่ของญี่ปุ่น) และภาพสัตว์นานาชนิดที่อาศัยอยู่ในป่าแถบนั้น

      ทั้งนี้ ภาพวาดแต่ละยุคสมัยสะท้อนเรื่องราวในประวัติศาสตร์ของชนเผ่าด้วย อาทิ ในช่วงของการทำสงคราม ก็มีการบันทึกฉากการต่อสู้ในสงคราม ภาพกองทัพทหาร ตามผนังสุสานเป็นต้น ซึ่งสุสานประดับภาพวาดที่เมืองจี๋อัน มีหลุมหนึ่งที่มีห้องแสดงภาพ 3 ห้อง(三室墓) สร้างราวคริสต์ศตวรรษที่ 5 ภาพส่วนใหญ่โดดเด่นที่ภาพบุคคลซึ่งดูมีชีวิตชีวาเสมือนจริง

      นอกจากนี้ ราวยุคคริสต์ศตวรรษที่ 4 ที่วัฒนธรรมการนับถือศาสนาพุทธจากอินเดียแผ่ขยายเข้ามาในดินแดนจงหยวน ก็ส่งอิทธิพลต่อภาพวาดในยุคนั้นเช่นกัน ดังที่นักโบราณคดีได้พบภาพวาดดอกบัวที่งดงามประณีตบนเพดานของสุสานยุคต้นๆ


      ถึงช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 6 – 7 ฝีมือการวาดและการใช้สีของช่างเขียนพัฒนาก้าวหน้าไปมาก ช่างเริ่มวาดภาพลงบนผนังหินโดยไม่ต้องลงปูนขาว ฝีแปรงหนักแน่น สีสันเด่นชัดกว่าภาพเขียนในยุคแรกๆ และมีเฉดสีหลากหลายขึ้น ทั้งแดงเข้ม แดงตุ่น เหลือง เหลืองอ่อน ขาวคล้ายแป้งและเขียว เป็นสีหลัก

      เนื้อหาภาพเป็นเรื่องราวทางพุทธศาสนา เต๋า และคำสอนของขงจื๊อ และภาพเทวดานางฟ้าในวัฒนธรรมความเชื่อของชาวจงหยวน ซึ่งมุ่งเน้นเพื่อการตกแต่งประดับประดาเป็นสำคัญ สุสานในยุคนี้ได้แก่ สุสานอู่คุยเฝิน(五盔坟)หมายเลข 4 และ 5 สุสานเทพทั้งสี่(四神墓) ในเมืองจี๋อัน และสุสานอีกหลายแห่งในเขตประเทศเกาหลีเหนือ

     ภาพวาดในสุสานแห่งโคคูเรียวถูกทำลายไปตามกาลเวลา และยังถูกลักลอบไปขายต่างประเทศ ซึ่งปัจจุบัน ภาพวาดที่เหลืออยู่บางส่วนถูกนำมาเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์มณฑลจี๋หลิน นอกจากนี้ภาพเขียนในสุสานแห่งโคคูเรียวก็มีแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์ประเทศเกาหลีใต้ด้วย.




                ไม่น่าเชื่อเลยนะคะว่า จะมีมรดกเกาหลี แอบซ่อนตัวอยู่ที่จีนได้  ไม่เชื่อก็ลองไปเที่ยวดูนะคะว่ามันจริงหรือเปล่า  สาวกเกาหลีต้องรีบแล้วล่ะค่ะ


* ข้อมูลบางแหล่งระบุ อาณาจักรโคคูเรียวมีกษัตริย์ปกครอง 26 รัชกาล


** ประวัติศาสตร์เกาหลี สมัยสามอาณาจักร (57 ปีก่อน ค.ศ. - ค.ศ. 668) คือ อาณาจักรโบราณทั้งสามของเกาหลี ประกอบด้วย โคคูเรียว แพ็กเจ (Baikje) และชิลลา (Silla) ปกครองตลอดคาบสมุทรเกาหลี และแผ่นดินส่วนใหญ่ในแมนจูเรีย

(ข้อมูลจาก : องค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวเกาหลี )

พระราชวังต้องห้าม(กู้กง)


ข้อมูล


มรดกโลกทางวัฒนธรรม ปีค.ศ.1987

ที่ตั้ง : ถนนฉางอัน ใจกลางกรุงปักกิ่ง

สร้างในปี : ค.ศ.1406 -1420

อาณาเขต : เนื้อที่ทั้งสิ้น 720,000 ตารางเมตร


ข้อมูลท่องเที่ยว

     พิพิธภัณฑ์พระราชวังต้องห้าม (故宫) ตั้งอยู่ที่ถนนฉางอัน ใจกลางกรุงปักกิ่ง สามารถเดินทางโดยรถไฟใต้ดิน ลงที่สถานีจัตุรัสเทียนอันเหมินตะวันตกหรือตะวันออกก็ได้ หรือโดยสารรถประจำทางสาย 1, 4, 5, 10, 52, 57 ลงที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน หรือรถไฟฟ้าสาย 101, 103, 109 หรือรถประจำทางปรับอากาศสาย 810, 812, 814, 846

- ราคาบัตรเข้าชม 40-60 หยวน (ตามฤดูท่องเที่ยว) มีบริการให้เช่าเทปบรรยายสถานที่จุดต่างๆในวัง และไกด์นำเที่ยว 3 ภาษา : อังกฤษ จีน และญี่ปุ่น หากต้องการเข้าชมพิพิธภัณฑ์สมบัติล้ำค่าและนาฬิกาโบราณ ซื้อตั๋วเข้าชมราคา 20 หยวนเพิ่ม ด้านในพิพิธภัณฑ์ฯ

- เวลาทำการ 16 ตุลาคม – 15 เมษายน เวลา 8 : 30 – 16 : 30 น. (15 : 30 น. ปิดจำหน่ายบัตร) 16 เมษายน – 15 ตุลาคม เวลา 8 :30 -17 : 00 น. (16 : 00 น.ปิดจำหน่ายบัตร)

ความเป็นมาของพระราชวังต้องห้าม
     พระราชวังต้องห้าม สร้างขึ้นในสมัยจักรพรรดิหย่งเล่อแห่งราชวงศ์หมิง เป็นทั้งบ้านและชีวิตของจักรพรรดิในราชวงศ์หมิงและชิงรวมทั้งสิ้น 24 พระองค์ พระราชวังเก่าแก่ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 500 ปี มีชื่อในภาษาจีนว่า ‘กู้กง’ หมายถึงพระราชวังเดิม มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ‘จื่อจิ้นเฉิง’ ซึ่งแปลว่า ‘พระราชวังต้องห้าม’ เหตุที่เรียกพระราชวังต้องห้าม เนื่องมาจากชาวจีนถือคติในการสร้างวังว่า จักรพรรดิเปรียบเสมือนบุตรแห่งสวรรค์ ดังนั้นวังของบุตรแห่งสวรรค์จึงต้องเป็น ‘ที่ต้องห้าม’ คนธรรมดาสามัญไม่สามารถล่วงล้ำเข้าไปได้
     พระราชวังต้องห้ามสร้างโดยยึดหลักขนบธรรมเนียมของระบบศักดินา คือ อำนาจสูงสุดของประเทศอยู่ที่จักรพรรดิเพียงพระองค์เดียว ดังนั้นรูปแบบทางสถาปัตยกรรมและการตกแต่งจึงเน้นความใหญ่โตโอ่อ่า เพื่อให้เกิดความรู้สึกน่าเกรงขาม มากกว่าเน้นในด้านประโยชน์ใช้สอย ทั้งนี้ภายในประกอบด้วยห้องต่างๆรวมถึง 9,999 ห้อง

     ตามหลักสถาปัตยกรรมสมัยโบราณ ได้กำหนดให้ด้านหน้าเป็นที่ว่าราชการ ด้านหลังเป็นที่อยู่อาศัย ตำหนักหน้า 3 หลังได้แก่ ตำหนักไท่เหอ ตำหนักจงเหอ และตำหนักเป่าเหอ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของอำนาจที่ยิ่งใหญ่นั้น จึงตั้งตระหง่านเรียงกันตามลำดับ ณ กึ่งกลางอาณาบริเวณส่วนหน้าของพระราชวัง ถัดเข้าไปส่วนด้านหลังเป็นตำหนักที่ประทับของจักรพรรดิและมเหสีอีก 3 หลัง ได้แก่ ตำหนักเฉียนชิง ตำหนักเจียวไท่ และตำหนักคุนหนิง


     ก่อนเข้าสู่ตำหนักในส่วนหน้าพระราชวัง จะต้องผ่านประตูสำคัญ ได้แก่ ประตูอู่ และประตูไท่เหอ ประตูอู่ เป็นประตูแรกสุดของพระราชวัง ได้ชื่อตามหลักจักรราศีของจีน เนื่องจากหันหน้าไปทางทิศใต้และยังตั้งอยู่ทางทิศใต้ของพระราชวัง บริเวณด้านหน้าประตูอู่ใช้เป็นที่จัดพิธีเฉลิมฉลองและรับเชลยศึกจากสงคราม และยังใช้เป็นที่ลงโทษข้าราชบริพารที่กระทำผิดด้วย





     ลานหน้าประตูแห่งนี้เคยมีข้าราชบริพารถูกโบยจนตายมาแล้ว เช่นกรณีหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นในสมัยของจักรพรรดิเจิ้งเต๋อแห่งราชวงศ์หมิง ที่ทรงรับสั่งให้เฆี่ยนข้าราชบริพารจำนวน 130 คน ในความผิดฐานขัดขวางการเสด็จฯไปคัดเลือกสาวงามทางใต้ ในครั้งนั้นมีคนถูกตีจนเสียชีวิตถึง 11 คน
ประตูไท่เหอ อยู่ตรงกับประตูอู่ เป็นประตูทางเข้าหลักของตำหนักหน้า ซึ่งเป็นประตูที่ใหญ่โตโอฬารที่สุดในพระราชวังต้องห้าม มีเอกลักษณ์คือ ที่หน้าประตูประดับด้วยสิงโตซึ่งทำจากทองสำริด 2 ตัว ด้านขวาเป็นสิงโตตัวผู้ด้านซ้ายเป็นสิงโตตัวเมีย ลานด้านหน้าซึ่งอยู่ระหว่างประตูอู่และประตูไท่เหอ เป็นลานที่กว้างที่สุดในพระราชวัง มีพื้นที่ทั้งสิ้น 25,000 ตร.ม ในสมัยราชวงศ์หมิงใช้เป็นที่ว่าราชการแผ่นดินและที่เข้าเฝ้าองค์จักรพรรดิ ต่อมาในสมัยราชวงศ์ชิงตอนต้นจึงย้ายไปยังลานหน้าประตูเฉียนชิง


สามตำหนักหน้า : ไท่เหอ จงเหอ เป่าเหอ


ตำหนัก 3 หลังในเขตพระราชฐานชั้นนอก ซึ่งใช้เป็นที่ว่าราชการแผ่นดิน และที่ทรงงานของจักรพรรดิ มี ตำหนักไท่เหอ เป็นตำหนักเอกที่มีความพิเศษที่สุด ดังนั้นจึงมีรูปแบบการก่อสร้างและการตกแต่งที่เป็นสุดยอดของพระราชวังต้องห้าม รวมถึงตำแหน่งที่ตั้งซึ่งอยู่จุดกึ่งกลางของนครปักกิ่งพอดี

ตำหนักที่สูงตระหง่านที่สุดในพระราชวังแห่งนี้โดดเด่นบนฐานหินอ่อนสีขาว 3 ชั้น ด้านหน้าตำหนักมีการจัดวางนาฬิกาแดดและเจียเลี่ยง ซึ่งเป็นเครื่องมือชั่งตวงวัดชนิดหนึ่งซึ่งจักรพรรดิเฉียนหลงทรงให้ทำเลียนแบบเจียเลี่ยงในสมัยถัง(ค.ศ.618-907) ตำหนักแห่งนี้ใช้เป็นที่จัดพิธีสำคัญของราชสำนักตั้งแต่สมัยราชวงศ์หมิงและชิง เช่น พิธีครบรอบพระชันษา พิธีฉลองขึ้นปีใหม่ เป็นต้น

ถัดจากตำหนักไท่เหอ คือ ตำหนักจงเหอ เป็นตำหนักที่จักรพรรดิทรงประทับก่อนที่จะเสด็จไปประกอบพระราชพิธีต่างๆที่ตำหนักไท่เหอ และเป็นที่ทรงงานราชการ ตลอดจนเป็นที่ให้ขุนนางเข้าเฝ้าฯ




ตำหนักเป่าเหอ ตำหนักเป่าเหอมีความสำคัญลำดับรองจากตำหนักไท่เหอ มีหลังคาซ้อนสองชั้นเช่นเดียวกับตำหนักไท่เหอ ภายในใช้เทคนิคในการก่อสร้างที่พยายามลดการใช้เสา ทำให้ภายในตำหนักมีความโปร่งโล่ง

จักรพรรดิจะทรงเปลี่ยนเครื่องทรงที่ตำหนักหลังนี้ก่อนจะเสด็จในการพระราชพิธีต่างๆ นอกจากนี้ยังใช้เป็นที่จัดงานเลี้ยงต้อนรับบรรดาขุนนางที่มีตำแหน่งสูง สมัยราชวงศ์ชิงตำหนักเป่าเหอยังใช้เป็นสนามสอบคัดเลือกขุนนางระดับสูงอีกด้วย



สามตำหนักหลัง : เฉียนชิง เจียวไท่ คุนหนิง

ส่วนที่แบ่งระหว่างเขตพระราชฐานชั้นนอกและพระราชฐานชั้นในก็คือ ลานกว้างที่อยู่บริเวณด้านหลังตำหนักเป่าเหอที่มาบรรจบกับประตูเฉียนชิง
     ประตูเฉียนชิง เป็นประตูหลักของพระราชฐานชั้นใน สร้างในสมัยจักรพรรดิหย่งเล่อแห่งราชวงศ์หมิง เป็นประตูที่มีหลังคาชั้นเดียวปูด้วยกระเบื้องสีเหลืองมันวาวเป็นประกาย ตั้งอยู่บนฐานหิน ที่ด้านหน้าซ้ายขวาของประตูเฉียนชิง มีโอ่งทองสำริด 10 ใบวางเรียงรายอยู่ โอ่งเหล่านี้ใช้สำหรับการประดับตกแต่ง ขณะเดียวกันก็เป็นที่เก็บน้ำไว้ใช้ดับไฟหากเกิดอัคคีภัย ที่ถูกเรียกว่า‘ทะเลของประตู’หรือแหล่ง(โอ่ง)น้ำสำคัญหน้าประตูนี้ ในอดีตทหารชั้นผู้น้อยในพระราชวังมีหน้าที่คอยตักน้ำใส่โอ่งให้เต็มทุกใบ เพื่อเตรียมพร้อมในกรณีที่เกิดไฟใหม้ ภายในพระราชวังต้องห้ามมีโอ่งทองสำริดและโอ่งเหล็กทั้งสิ้น 308 ใบ โอ่งแต่ละใบมีน้ำหนักกว่า 2,000 กิโลกรัม

เขตพระราชฐานชั้นในเป็นที่ประทับพักผ่อนของจักรพรรดิ พระมเหสี พระราชมารดา พระราชโอรส พระราชธิดาและนางสนม ประกอบด้วยตำหนักหลัก 3 หลัง คือ ตำหนักเฉียนชิง ตำหนักเจียวไท่ และตำหนักคุนหนิง นอกจากนี้ด้านข้างของตำหนักทั้ง 3 ยังเรียงรายด้วยตำหนักเล็กๆอีกด้านละ 6 หลัง




เมื่อเทียบกับพระราชฐานชั้นนอกแล้ว พระราชฐานชั้นในมีลักษณะที่ค่อนข้างมิดชิดซึ่งเป็นลักษณะอย่างหนึ่งของตำหนักสำหรับการพักผ่อน นอกจากนี้ยังมีอุทยานและศาลาซึ่งได้รับการออกแบบจัดวางอย่างประณีตบรรจง



ตำหนักเฉียนชิงและตำหนักคุนหนิง ต่างตั้งชื่อตามตำหนักในพระราชวังที่เมืองหนันจิง อดีตราชธานีในสมัยราชวงศ์หมิง ในวัฒนธรรมดั้งเดิมของจีน‘เฉียน’ หมายถึง สวรรค์ และ‘คุน’ หมายถึง แผ่นดิน ดังนั้นจึงมีนัยว่า ตำหนักเฉียนชิงเป็นตำหนักบรรทมของจักรพรรดิ และตำหนักคุนหนิงเป็นตำหนักบรรทมของพระมเหสี



     ตำหนักเฉียนชิง เป็นที่ประทับของจักรพรรดิและปฏิบัติพระราชกรณีกิจส่วนพระองค์ มาตั้งแต่สมัยราชวงศ์หมิง ต่อมาสมัยจักรพรรดิหย่งเจิ้งแห่งราชวงศ์ชิง ได้ทรงย้ายไปประทับที่ตำหนักหยังซิน ตำหนักเฉียนชิงจึงมีบทบาทในฐานะที่เป็นตำหนักสำหรับว่าราชการและเป็นที่จัดเลี้ยงแทน
     เหนือตำหนักเฉียนชิงขึ้นไปเป็นตำหนักเจียวไท่ สร้างในสมัยหมิง มีลักษณะเป็นทรงเหลี่ยม เนื้อที่ไม่ใหญ่มากนัก ใช้เป็นสถานที่เข้าเฝ้าพระมเหสี ในการถวายพระพรในพิธีการต่างๆ ทั้งยังเป็นที่เก็บรักษาตราลัญจกรซึ่งใช้ประทับลงหนังสือราชการของจักรพรรดิ ส่วนตำหนักคุนหนิง เป็นที่ประทับพักผ่อนของพระมเหสีในสมัยหมิง ต่อมาในสมัยชิงได้ใช้เป็นที่บูชาเทพเจ้า

     ด้านเหนือของตำหนักคุนหนิง เป็นที่ตั้งของอุทยานหลวง สร้างในรัชสมัยหย่งเล่อแห่งราชวงศ์หมิง ในเวลานั้นเรียกเพียง ‘สวนหลังวัง’ เป็นการผสมผสานที่ลงตัวระหว่างความมีชีวิตชีวาตามแบบฉบับสวนสามัญชน แต่กว้างขวางโอ่อ่าตามแบบฉบับอุทยานในราชสำนัก มีความยาว 130 กว่าเมตร กว้าง 90 เมตร ภายในสวนประกอบด้วยหอน้อยใหญ่กว่า 20 หอ และสิ่งปลูกสร้างต่างๆที่จัดตั้งหันหน้าเข้าหากันเป็นแนว
     ตำหนักที่สำคัญมากอีกตำหนักหนึ่งของพระราชวังต้องห้าม เพราะเป็นห้องบรรทมของจักรพรรดิหย่งเจิ้งและจักรพรรดิองค์ต่อๆมาในราชวงศ์ชิง ตั้งอยู่เป็นเอกเทศจากตำหนักอื่นๆ ทางด้านใต้ของทางเดินด้านตะวันตกภายในพระราชวัง นั่นคือ ตำหนักหยังซิน


ตำหนักหยังซิน สร้างขึ้นในรัชสมัยของจักรพรรดิเจียจิ้งแห่งราชวงศ์หมิง(ค.ศ.1522-1566) มีลักษณะเป็นรูปตัวไอ(I) โดยส่วนหน้ากับส่วนหลังเชื่อมถึงกัน ส่วนหน้าเป็นที่ทรงงาน ส่วนหลังเป็นที่บรรทม มีระเบียงล้อมรอบ
     ในปีที่จักรพรรดิคังซีแห่งราชวงศ์ชิงเสด็จสวรรคต พระบรมศพของพระองค์ได้ถูกตั้งไว้ที่ตำหนักหยังซิน จักรพรรดิองค์ต่อมาคือ จักรพรรดิหย่งเจิ้งพระราชโอรสได้ทรงไว้ทุกข์ให้พระราชบิดาที่นี่ หลังเสร็จสิ้นการไว้ทุกข์ ตำหนักแห่งนี้ก็กลายเป็นห้องบรรทมและห้องทรงงานของพระองค์ในเวลาต่อมา อีกประการหนึ่ง ที่ตั้งของตำหนักหยังซินนั้นใกล้กับกองกำลังทหารมาก จึงเป็นการสะดวกหากพระองค์ต้องการปรึกษาข้อราชการกับเหล่าแม่ทัพนายกอง
     ตำหนักแห่งนี้ยังเป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ กล่าวคือ ในรัชสมัยจักรพรรดิถงจื้อและจักรพรรดิกวงสู่แห่งราชวงศ์ชิง พระนางซูสีไทเฮาและพระนางฉืออันโปรดให้เหล่าขุนนางเข้าเฝ้าและกราบทูลข้อราชการต่อพระนาง โดยมีม่านสีเหลืองเป็นฉากกั้นระหว่างกลาง ดังที่มีคำเรียกขานกันว่า 'ว่าราชการหลังม่าน' ที่พระที่นั่งในตำหนักหยังซินด้วย
      นอกจากนี้ เมื่อปีค.ศ. 1842 และปี 1860 ราชสำนักชิงกับกองทัพต่างชาติได้มาลงนามใน ‘สนธิสัญญานานกิง ’และ ‘สนธิสัญญาปักกิ่ง’ ณ ตำหนักแห่งนี้เช่นกัน
      หลังจากผ่านกระแสธารแห่งประวัติศาสตร์มาหลายยุคหลายสมัย วันนี้พระราชวังต้องห้ามยังคงเด่นเป็นสง่าใจกลางนครปักกิ่ง และเป็นตัวแทนเล่าขานเหตุการณ์ในอดีตในฐานะพิพิธภัณฑ์ที่เก่าแก่ งดงามและสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งในโลก


      ใครๆที่อยากไปเที่ยวพระราชวังต้องห้าม และยังไม่เคยไปก็ศึกษาไว้ก่อนนะคะ
ไปแล้วมีอะไรเพิ่มเติมก็มาเล่าสู่กันฟังได้ค่ะ!!!!!