ประเทศ สาธารณรัฐประชาชนจีน
ภูมิศาสตร์กายภาพ
ตั้งอยู่ในเอเซียตะวันออก บนฝั่งตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก มีพื้นที่ดินประมาณ ๙.๖ ล้านตารางกิโลเมตร ใหญ่เป็นอันดับที่ ๓ ของโลก รองจากรัสเซียกับแคนาดา
จากเหนือถึงใต้วัดได้ ๕,๕๐๐ กม. จากศูนย์กลางของแม่น้ำ Heilaongjiang ทางเหนือของเมือง Mohe ถึงแนวหินโสโครก Zengmu ที่ใต้สุดของเกาะ Nansha ในขณะที่ทางเหลือของจีนยังมีหิมะปกคลุมอยู่ ประชาชนทางใต้กำลังขมักเขม่นกับการเพาะปลูกในฤดูใบไม้ผลิ
จากตะวันตกถึงตะวันออก วัดได้ ๕,๒๐๐ กม. จาก Pamir ถึงจุดบรรจงของแม่น้ำ Heilongjiang กับแม่น้ำ Wusuli วัดความแตกต่างของเวลาได้ ๔ ชั่วโมง กล่าวคือเมื่อ Pamir ยังมืดสนิทอยู่ ทางฝั่งตะวันออกของประเทศกำลังได้รับแสงอาทิตย์ยามเช้าที่สดใส
ประเทศจีนมีอาณาเขตติดต่อกับประเทศต่างๆ ถึง ๑๕ ประเทศ ด้วยความยาว ๒๒,๘๐๐ กม. ข้ามทะเลไปทางตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้มี เกาหลี ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ บรูไน มาเลย์เซีย และอินโดนีเซีย
แผ่นดินใหญ่จีนถูกขนาบทางตะวันออกไปทางใต้ด้วยทะเล Bohai ทะเล Huanghai ( ทะเลเหลือง ) ทะเลจีนตะวันออก และทะเลจีนใต้ โดยมีพื้นที่น้ำรวม ๔.๗๓ ล้านตาราง กิโลเมตร ทะเล Bohai เป็นทะเลภายในพื้นทวีปของจีนเองในขณะที่ทะเลเหลือง ทะเลจีนตะวันออก และทะเลจีนใต้ เป็นส่วนประกอบของมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งมีเกาะเล็กเกาะน้อยถึง ๕,๔๐๐ เกาะ จึงทำให้ประเทศจีนมีอาณาเขตทางทะเลที่ใหญ่มาก เกาะที่ใหญ่ที่สุดมีเนื้อที่ ๓๖,๐๐๐ ตาราง กิโลเมตร คือ ไต้หวัน ตามด้วยเกาะไหหลำ ๓๔,๐๐๐ ตาราง กิโลเมตร เกาะ Diaoyu กับเกาะ Chiwei ซึ่งอยู่ทางตะวันออกของเกาะไต้หวันเป็นเกาะตะวันออกสุดของจีนเกาะน้อยใหญ่ รวมถึงหินโสโครก และ ฝูงปลา ในทะเลจีนใต้ เป็นที่รู้จักกันว่า เป็นหมู่เกาะทะเลจีนใต้ ซึ่งแบ่งออกเป็น Dongsha , Xisha, Zhongsha , และ Nansha รวม ๔ กลุ่ม
ภูมิอากาศ
ประเทศจีนมีลักษณะภูมิอากาศเป็นแบบมรสุมภาคพื้นทวีปที่มีหลากหลายรูปแบบ ลมเหนือจะมีอิทธิพลสูงในฤดูหนาว ในขณะที่ลมใต้จะมีบทบาทในฤดูร้อน มีผลถึง ๔ ฤดู ที่แตกต่างกันอย่างเด่นชัด มีฤดูฝนปนอยู่กับฤดูร้อน
จากเดือน กันยายน ข้ามปีไปไปถึง เมษายน มีลมหนาวที่แล้งจาก Siberia และ Mongolia ความแรงของลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือนี้จะมีกำลังลดลงเมื่อลงมาถึงดินแดนในภาคใต้ เป็นฤดูที่หนาวแบบแห้งที่มีความแตกต่างของอุณหภูมิสูงมาก
มรสุมฤดูร้อนจะเกิดขึ้นระหว่าง เมษายน ถึง กันยายน ด้วยลมอุ่นและความชื้นจากมหาสมุทรที่นำน้ำฝนจำนวนมหาศาลมาให้ พร้อมกับอุณหภูมิที่ค่อนข้างสูงและมีความแตกต่างกันค่อนข้างต่ำ ระหว่างภาคเหนือกับภาคใต้
ภูมิอากาศที่ซับซ้อน และหลากหลายของจีน มีผลให้สามารถแบ่งแถบอิงอุณหภูมิ กับแถบอิงความชื้นของภาคพื้นของประเทศจีนได้ คือแบ่งแถบอิงอุณหภูมิจากภาคใต้ถึงภาคเหนือเป็น แถบ equatorial , แถบ tropical , แถบ Sub - tropical , แถบ Warm - temperate , แถบ temperate และแถบ Cold - temperateและแบ่งแถบอิงความแห้ง - ชื้น จากตะวันออกเฉียงใต้ ถึงตะวันตกเฉียงเหนือเป็นแถบความชื้นสูง
( ๓๒ % ของพื้นดิน ) แถบกึ่งความชื้นสูง ( ๑๕ % ) แถบกึ่งแห้งแล้ง ( ๒๒ % ) และแถบแห้งแล้ง ( ๓๑ % )
รายชื่อมณฑล
เมืองหลวง
Heilongjian เฮยหลงเจียง
Haerbin ฮาร์ปิน
Jilin จี๋หลิน
Changchun ฉางชุน
Liaoning เลี๋ยวหนิง
Shenyang เสิ่นหยาง
Hebei เหอเป่ย
Shijiazhuang สือเจียจวง
Henan เหอหนาน
Zhengzhou เจิ้งโจว
Shanxi ซานซี
Taiyuan ไท่เยวี๋ยน
Shandong ซานตง
Jinan จี่หนาน
Shanxi ส่านซี
Xian ซีอาน
Gansu กานซู่
Lanzhou ล๋านโจว
Qinghai ชิงไห่
Xining ซีหนิง
Sichuan ซื่อชวน ( เสฉวน )
Chengdu เฉิงตู
Yunnan ยวิ๋นหนาน ( ยูนนาน )
Kunming คุนหมิง
Guizhou กุ้ยโจว
Guiyang กุ้ยหยาง
Hubei หูเป่ย
Wuhan อู่ฮั่น
Hunan หูหนาน
Changsha ฉางซา
Anhui อันฮุย
Hefei เหอเฝย
Jiangsu เจียงซู
Nanjing หนานจิง
Zhejiang เจ้อเจียง
Hangzhou หางโจว
Jiangxi เจียงซี
Nanchang หนานชาง
Fujian ฟูเจี้ยน
Fuzhou ฟูโจว
Guangdong กว่างตง ( กวางตุ้ง )
Guangzhou กว่างโจว ( กวางเจา )
Taiwan ไถวาน ( ไต้หวัน )
Taibei ไถเป่ย ( ไทเป )
Hainan ไห่หนาน ( ไหหลำ )
Haikou ไหโข่ว
--------------------------------------------------------------------------------
มหานคร
Beijing เป่ยจิง ( ปักกิ่ง )
Tianjin เทียนจิน ( เทียนสิน )
Shanghai ซ่างไห่ ( เซี่ยงไฮ้ )
Chongqing ฉงชิ่ง ( จุงกิง )
เขตการปกครองตนเองของชนกลุ่มน้อย
เน่ยเมิ๋งกู่
หนิงเซี่ย
ซินเจียง
ซีจ้าง
กวางสี
แผนที่จีน
.................................................................................................................................................................
ลำดับราชวงศ์ที่ปกครองแผ่นดินใหญ่จีน
Chronological Table of Chinese History
ราชวงศ์ ระหว่างปี (ค.ศ.)
The Xia Dynasty ( เซี่ย ) ( 2140 - 1711 B.C. )
The Shang Dynasty ( ซาง ) ( 1711 - 1066 B.C. )
The Zhou Dynasty ( โจว )
The Western Zhou ( 1066 - 771 B.C. )
The Eastern Zhou ( 770 - 256 B.C. )
The Qin Dynasty ( ฉิน ) ( 221 - 206 B.C. )
The Han Dynasty ( ฮั่น )
The Western Han ( 206 B.C. - 25 A.D. )
The Eastern Han ( 25 - 220 )
The Three Kingdom of Wei , Shu, Wu ( 220 - 280 )
The Jin Dynasty( จิ้น )
The Western Jin ( 265 - 317 )
The Eastern Jin ( 317 - 420 )
The Northern and Southern Dynasty ( 420 - 589 )
The Sui Dynasty ( สุย ) ( 581 - 618 )
The Tang Dynasty ( ถาง ) ( 681 - 807 )
The Five Dynasties ( 807 - 906 )
The Song Dynasty ( ซ่ง )
The Northern Song ( 906 - 1127 )
The Southern Song ( 1127 - 1279 )
The Liao Dynasty ( เลี๋ยว ) ( 907 - 1125 )
The Jin Dynasty ( จิน ) ( 1115 - 1234 )
The Yuan Dynasty ( หยวน ) ( 1206 - 1368 )
The Ming Dynasty ( หมิง ) ( 1368 - 1644 )
The Qing Dynasty ( ชิง ) ( 1616 - 1911 )
The Republic of China ( 1912 - 1949 )
The People's Republic of China ( founded on October 1,1949 )
เรื่องนี้เป็นความรู้อย่างย่อ ๆ เกี่ยวกับราชวงศ์บนแผ่นดินจีน ตามลำดับจนถึงการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง เป็นสาธารณรัฐจีน และ สาธารณรัฐประชาชนจีน ( ในปัจจุบัน ) นำเสนอเป็นภาษาอังกฤษตามต้นฉบับเดิม เพิ่มเติมด้วยคำอ่านชื่อราชวงศ์เป็นภาษาไทยจากภาษาจีน ( กลาง = แมนดาริน ) เท่าที่จำเป็น คงจะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านตามสมควร
แหม...ความรู้แน่นปึ๊กขนาดนี้ ไม่หลงแน่ เยี่ยมไปเลยเพื่อน
ตอบลบอันนี้ก็มาแนววิชาการอีกและ
ตอบลบไปเที่ยวๆ
ตอบลบ